วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


อาหารปลาสวยงาม  

           อาหารเป็นปัจจัยหลักของสิ่งมีชีวิต    คนและสัตว์ทุกชนิดมีความต้องการอาหารเพื่อการบริโภคในชีวิตประจำวัน   โดยอาหารที่มีคุณภาพดีและเหมาะสมกับชนิดของสัตว์   จะช่วยให้สัตว์นั้นมีการเจริญเติบโตตามธรรมชาติได้ดี   ปัจจุบันอาหารสัตว์น้ำถือได้ว่ามีการพัฒนาและมีความสำคัญทางด้านธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง   โดยเฉพาะอาหารปลาสวยงามจะมีความหลากหลาย มากกว่าอาหารสัตว์น้ำประเภทอื่น   เพราะลักษณะการเลี้ยงปลาสวยงามเป็นการเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่แคบๆ   สภาพแวดล้อมไม่เหมือนธรรมชาติ   โดยเฉพาะในเรื่องของการได้รับแสงแดดค่อนข้างน้อย   การขาดดินและขาดอาหารธรรมชาติ   ทำให้อาหารจำเป็นต้องมีส่วนประกอบต่างๆครบถ้วน   ตั้งแต่สารอาหาร   เกลือแร่   และไวตามิน   อีกทั้งยังต้องมีขนาดที่เหมาะสมที่ปลาจะกินได้   ไม่จมตัวง่าย   ไม่ทำให้คุณภาพของน้ำเปลี่ยนแปลงเร็ว  รวมทั้งปลาสามารถย่อยและใช้ประโยชน์จากอาหารชนิดนั้นได้ดี   นอกจากนั้นปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยงยังมีความหลากหลาย  ทั้งในเรื่องของนิสัยการกินอาหาร     และขนาดของปลา      จึงทำให้มีรูปแบบของอาหารปลา สวยงามออกมาหลายชนิด   และค่อนข้างมีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับอาหารสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ
         อาหารสัตว์น้ำโดยทั่วไปแบ่งเป็น  2  ประเภท คือ
1. อาหารสำเร็จรูป       
2. อาหารธรรมชาติ
1. อาหารสำเร็จรูป                      animated gifs
         ปัจจุบันอาหารสำเร็จรูปมีความสำคัญควบคู่ไปกับการเลี้ยงปลาสวยงาม   เพราะเมื่อมีการซื้อปลาสวยงามเมื่อใดก็จำเป็นต้องซื้ออาหารสำหรับเลี้ยงปลาสวยงามด้วย   และเนื่องจากอาหารปลาสวยงามมีราคาค่อนข้างสูง   จึงทำให้มีการแข่งขันพัฒนาอาหารสำเร็จรูปชนิดต่างๆออกมาหลายชนิด   โดยส่วนใหญ่จะเน้นคุณภาพเกี่ยวกับการเร่งสีของปลา   คือทำให้ปลามีสีสันสดใส   การสร้างวุ้น   และยังมีการเน้นเจาะจงใช้เลี้ยงเฉพาะกลุ่มปลาหรือชนิดปลา   เช่น  เลี้ยงกลุ่มปลา Tetra   และ  Danio   ได้แก่พวกปลานีออน   และปลาซิว   กลุ่มปลา Cichlid ได้แก่ พวกปลาหมอ   ยิ่งมีการระบุถึงความเจาะจงและเน้นคุณภาพพิเศษต่างๆมากเท่าใด   ก็จะยิ่งทำให้อาหารชนิดนั้นมีราคาสูงขึ้น   ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงราคาของอาหารปลาสวยงามที่จำหน่ายกันในปัจจุบัน   จะพบว่ามีราคาแพงที่สุดในบรรดาอาหารสัตว์ที่จำหน่ายกันอยู่  เช่น  อาหารปลา Tetra ราคาซองละ  180.00  บาท  มีน้ำหนักเพียง  100  กรัม   คิดเป็นราคากิโลกรัมละ  1,800.00  บาท   อาหารปลาทองชนิดเร่งสีและวุ้น  ราคาซองละ  60.00  บาท   มีน้ำหนัก  100  กรัม   คิดเป็นราคากิโลกรัมละ  600.00  บาท   อาหารปลาสวยงามที่จัดว่ามีราคาถูก   จะราคาซองละ  10.00 - 20.00  บาท   มีน้ำหนัก  100  กรัมเช่นกัน   ซึงเมื่อคิดราคาต่อกิโลกรัมจะมีราคาถึง  100.00 - 200.00  บาท   ก็ยังคงมีราคาแพงกว่าอาหารสัตว์อื่นๆเช่นกัน
http://home.kku.ac.th/pracha/aa37.jpg   http://home.kku.ac.th/pracha/aa36.jpg   http://home.kku.ac.th/pracha/aa38.jpg   http://home.kku.ac.th/pracha/aa33.jpg   http://home.kku.ac.th/pracha/aa31.jpg
ภาพที่ 1  ลักษณะอาหารปลาสวยงามแบบต่างๆ      
        ชนิดของอาหารสำเร็จรูปของปลาสวยงามที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมีอยู่  3  ประเภท
         1.1 อาหารเม็ดจมน้ำ  อาหารชนิดนี้เหมาะสำหรับปลาสวยงามที่หากินอาหารตามพื้นก้นตู้เช่นปลาหมู   ปลาปล้องอ้อย   ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้เพราะปลากินไม่ทัน   อาหารจะตกค้างลงในวัสดุกรองมาก   มักมีปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสีย
         1.2 อาหารเม็ดลอยน้ำ  อาหารชนิดนี้เหมาะสำหรับปลาทุกประเภท   มักมีคุณสมบัติลอยตัวอยู่ผิวน้ำได้ประมาณ  3 - 5 ชั่วโมง  แล้วแต่ชนิดอาหาร   ทำให้ปลากินอาหารได้ดี   และผู้เลี้ยงสังเกตุได้ว่าให้อาหารพอเพียงหรือไม่   ปัจจุบันจึงมักผลิตเป็นอาหารเม็ดลอยน้ำ
         1.3 อาหารผง   อาหารชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้อนุบาลลูกปลา   มีลักษณะเป็นผงละเอียด   อาจให้กระจายตัวที่ผิวน้ำหรือผสมน้ำหมาดๆปั้นเป็นก้อนก็ได้   โดยถ้าเป็นลูกปลากินพืช   เช่น  ลูกปลาตะเพียนทอง   ลูกปลาทอง  และลูกปลาคาร์พ   ควรให้กระจายตัวที่ผิวน้ำ   แต่ถ้าเป็นลูกปลากินเนื้อ  เช่น  ลูกปลาแขยง   และลูกปลาดุก   ควรปั้นก้อนให้   อาหารชนิดนี้จำเป็นสำหรับผู้เลี้ยงปลาสวยงามที่ผลิตลูกปลาออกจำหน่าย                



2 อาหารธรรมชาต          animated gifs    
         เป็นอาหารที่มีชีวิต   ปกติสามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ   แต่ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงอาหารธรรมชาติเหล่านี้   เพราะมีความต้องการในปริมาณค่อนข้างมากและสม่ำเสมอ   จัดเป็นอาหารที่มีประโยชน์และมีความสำคัญต่อธุรกิจการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามในปัจจุบัน   ถึงแม้ว่าอาหารสำเร็จรูปจะมามีบทบาทมากขึ้นและได้รับความนิยมค่อนข้างมาก   ตามที่ได้กล่าวไปแล้วก็ตามที   แต่ก็ยังมีผู้เลี้ยงปลาสวยงามอีกเป็นจำนวนมาก   ที่ยังนิยมใช้อาหารมีชีวิตหรืออาหารธรรมชาติเป็นอาหารปลา   เพราะเชื่อว่าปลาจะมีสุขภาพดีและมีสีสันสดใสกว่าการใช้อาหารสมทบ   และน้ำจะมีการสะสมของสิ่งหมักหมมน้อยลง   นอกจากนั้นอาหารมีชีวิตบางชนิดยังมีความจำเป็นในการใช้อนุบาลลูกปลา   ช่วยให้ลูกปลามีอัตรารอดสูงและเจริญเติบโตรวดเร็วมาก   นอกจากนั้นอาหารมีชีวิตบางชนิดยังสามารถส่งออกไปตลาดต่างประเทศได้ง่าย   ทั้งเพื่อนำไปใช้เลี้ยงปลาสวยงาม   และเพื่อใช้ผสมเป็นส่วนประกอบของอาหารสำเร็จรูป   นับว่าอาหารธรรมชาติยังมีความจำเป็นในธุรกิจการเลี้ยงปลาสวยงามเป็นอย่างยิ่ง
animated gifs
       อาหารธรรมชาติที่สำคัญได้แก่
         2.1 ไดอะตอม  และ  ยูกลีนา เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น   พบได้หนาแน่นตามบ่อเลี้ยงปลาที่มีการให้อาหารอย่างเต็มที่   โดยจะขึ้นเป็นฝ้าสีน้ำตาลแกมเขียว   แต่ถ้าได้รับแสงแดดจัดๆจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแกมแดง   แล้วถูกลมพัดไปหนาแน่นอยู่ตามริมบ่อทางท้ายลม   มีประโยชน์สำหรับใช้อนุบาลลูกปลาที่ค่อนข้างมีขนาดเล็กมากๆ   เช่นลูกปลาตะเพียนทอง   ลูกปลาม้าลาย   ลูกปลากระดี่แคระ   ลูกปลากัด   และลูกปลาซิวต่างๆ   ซึ่งในช่วงที่ลูกปลาออกจากไข่ใหม่ๆในระยะ  2 - 3 วันแรก   จะยังไม่สามารถกินไข่แดงหรือไรน้ำชนิดต่างๆได้   ควรตักฝ้าน้ำซึ่งจะมีไดอะตอมและยูกลีนาอยู่มากมาให้ลูกปลากิน   โดยเทผ่านกระชอนผ้าขาวบางเพื่อให้มีการกระจายตัว   และป้องกันศัตรูของลูกปลาจะลงไปในบ่อได้   ให้กินอยู่ประมาณ  2 - 3  วัน  ลูกปลาจะเติบโตขึ้นจนสามารถกินไรชนิดอื่นหรืออาหารผงต่อไป   ก็จะทำให้ลูกปลาแข็งแรงและมีอัตราการรอดมาก
         2.2 ไรแดง   เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่พอจะสังเกตุเห็นด้วยตาเปล่า   เพราะมีขนาดประมาณ  1.2  มิลลิเมตร   จัดเป็นแพลงตอนสัตว์   ในธรรมชาติมักพบตามแหล่งน้ำที่เริ่มเน่าเสีย   และมีจุลินทรีย์มาก   เป็นอาหารที่เหมาะสมสำหรับอนุบาลลูกปลา   และเลี้ยงปลาสวยงามที่มีขนาดเล็ก   เช่นปลาม้าลาย   ปลานีออน   ปลาซิวข้างขวาน   ปลาสอด   และปลาหางนกยูง
         2.3 ลูกน้ำ เป็นตัวอ่อนของยุงซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี   เป็นอาหารธรรมชาติที่ได้รับความนิยมใช้เลี้ยงปลาสวยงามมานาน   จะพบได้มากตามแหล่งน้ำเน่าเสีย   และตามแหล่งน้ำขัง   ปัจจุบันยังมีความจำเป็นใช้เลี้ยงปลาบางชนิด   เช่น  ปลากัด   ปลาปอมปาดัวร์
         2.4 หนอนแดง  เป็นตัวอ่อนของริ้นน้ำจืด   ลักษณะคล้ายลูกน้ำแต่ตัวมีสีแดงสด   และมักสร้างปลอกอยู่ตามพื้นก้นบ่อ   พบได้ทั่วไปตามแหล่งที่มีน้ำขัง   เป็นอาหารที่มีคุณค่า   ที่ได้รับความนิยมใช้เลี้ยงปลาสวยงามทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
         2.5 อาร์ทีเมีย   เป็นไรน้ำเค็ม   ปกติพบตามทะเลสาบน้ำเค็มที่มีความเค็มค่อนข้างสูง   จนไม่มีสัตว์น้ำประเภทอื่นอาศัยอยู่ได้   ตัวอ่อนจะมีขนาดประมาณ  0.3  มิลลิเมตร  มีความสำคัญสำหรับการใช้อนุบาลลูกปลา   แต่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีขนาดประมาณ  1.2  เซ็นติเมตร  เหมาะสำหรับใช้เป็นอาหารเลี้ยงปลาสวยงามได้ดี   นอกจากนั้นในช่วงฤดูแล้งซึ่งน้ำจะมีความเค็มสูงมาก   อาร์ทีเมียจะปล่อยไข่ที่มีตัวอ่อนอยู่ภายใน   โดยไข่จะลอยเป็นแพอยู่ตามผิวน้ำ  สามารถรวบรวมไข่ดังกล่าวมาอบแห้งเก็บไว้   เมื่อต้องการใช้ก็นำมาฟักตัวในน้ำทะเลปกติหรือน้ำที่มีความเค็ม 30 ppt  ใช้เวลาประมาณ  24  ชั่วโมงตัวอ่อนจะฟักตัวออกมา   จึงเป็นอาหารธรรมชาติที่สามารถเพาะให้ได้ในปริมาณมากตามที่ต้องการ   และในเวลาที่ต้องการได้ดีที่สุด   ทำให้เป็นอาหารธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อธุรกิจการประมงมากที่สุด
         ปัจจุบันมีการศึกษาและวิจัย   จนสามารถดำเนินการเพาะเลี้ยงอาหารธรรมชาติที่สำคัญได้หลายชนิด   จัดได้ว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับการเลี้ยงปลาสวยงามและเป็นการส่งเสริมอาชีพทางการประมงด้วย   

โรคของปลาสวยงาม
1.  โรคโปรโตซัว
    
ลักษณะอาการ   ปลาที่ป่วยมีลักษณะครีบเปื่อย  หรือกางออกไม่เต็มที่  ผิวตัวซีด  และมีลักษณะคล้ายผิวถลอก  หรือตกเลือดเป็นแห่งๆ  การว่ายน้ำของปลาผิดปกติ  โดยว่ายน้ำแฉลบเอาข้างตัวถูกับพื้นก้นตู้  พื้นอ่างหรือก้อนหินในตู้ปลา  บางครั้งปลาอาจจะมีจุดขาวตามลำตัวและครีบ
     สาเหตุของโรค   เกิดจากเชื้อโปรโตซัวจำพวกเห็บระฆัง(Trichodina)  เชื้ออิ๊ก (Ichthyophthirius)  เชื้อไซพริเดีย(Scyphidia)  เชื้อเอพีโอโซมา (Apiosoma)
     การรักษา   ใช้น้ำยาฟอร์มาลีนแช่ปลาในตู้อัตรา  25-30  พีพีเอ็ม  (2.5-3.0  ซีซี / น้ำ 100  ลิตร)  แช่ไว้นาน  2-3  วัน  เพียงครั้งเดียว  แต่ถ้าปลาป่วยเป็นโรคจุดขาว(โรคอิ๊ก)  จะต้องใส่น้ำยาฟอร์มาลีนซ้ำอีก  2-3  ครั้ง  หลังจากการเปลี่ยนน้ำในอัตราความเข้มข้นเท่าเดิม  โดยทำห่างกันครั้งละ  2-3  วัน
   
2.  โรคปลิงใส    
     ลักษณะอาการ   ปลาที่ติดปรสิตปลิงใสจะมีอาการซึม  เบื่ออาหาร  และมีการว่ายน้ำแฉลบเอาข้างตัวถูกับพื้นตู้เป็นครั้งคราว  ครีบของปลาโดยทั่วไปยังมีลักษณะปกติ
     ลักษณะของโรค  เกิดจากปรสิตปลิงใส  (Monogene)
     การรักษา  ใช้น้ำยาฟอร์มาลีนแช่ปลาในตู้ในอัตรา  40-45  พีพีเอ็ม (4.0-4.5  ซีซี / น้ำ 100  ลิตร)  แช่ไว้นาน 2-3 วัน  ถ้าเป็นปลาขนาดเล็กให้ดูแลปลาอย่างใกล้ชิดใน 1-2 ชั่วโมงแรกหลังใส่สารเคมี  เพราะปลาที่เล็กมากอาจจะทนต่อพิษของฟอร์มาลีนไม่ไหว  ถ้าพบลูกปลามีอาการเมายาให้รีบเปลี่ยนน้ำครึ่งหนึ่งทันที
   
3.  โรคเห็บปลาและหนอนสมอ
     ลักษณะอาการ  ปลาที่มีปรสิตเกาะว่ายน้ำแบบชักกระตุก  มีอาการสะดุ้ง  ว่ายน้ำกระโดด  ถูตัวกับข้างตู้หรือก้อนหิน  ปลาที่ป่วยเรื้อรังจะมีแผลตกเลือกเป็นจ้ำตามลำตัว  แผลอาจจะขยายใหญ่มากเช่นที่พบในปลาคาร์พ
     สาเหตุของโรค  เกิดจากปรสิตเห็บปลา(Argulus)  และหนอนสมอ (Lerneae) ซึ่งเป็นปรสิตเปลือกแข็งขนาดใหญ่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (ประมาณ 0.3-0.5 ซม.)
     การรักษา  ใช้สารเคมีดิพเทอเร็กซ์หรือซินเทอเร็กซ์ (เป็นยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่งจัดอยู่ในกลุ่มออการ์โนฟอสเฟต) ในอัตรา  0.25 พีพีเอ็ม(0.025 กรัมต่อน้ำในตู้  100  ลิตร)  ปลาในตู้หรือในบ่อนาน 7 วัน และต้องแช่สารเคมีซ้ำอีก  3  ครั้ง  ห่างกันครั้งละ  7  วัน  รวมระยะเวลาในการรักษาประมาณ  1  เดือน
   
4.  โรคแบคทีเรีย
     ลักษณะอาการ  ปลาที่ป่วยจะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอาการรวมกันคือ  มีแผลตกเลือดตามลำตัว  ครีบบริเวณท้อง  และช่องขับถ่าย  ตาของปลาอาจจะมีอาการบวมและตกเลือด  ท้องและลำตัวปลามีอาการบอบช้ำและมักจะพบอาการเกล็ดตั้ง หรือตัวด่าง
     สาเหตุของโรค  เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  ได้แก่  เชื้อแอร์โรโทแนส ซูโดโมแนส  และคอรัมนาริส
     การรักษา  ใช้แช่ปลาที่เป็นโรคด้วยยาปฏิชีวนะ  ในอัตรา  10-20  พีพีเอ็ม(1-2 กรัม / น้ำ 100  ลิตร)  แช่นนาน  2  วัน  แล้วเปลี่ยนน้ำใหม่และแช่ยาซ้ำอีก  3-4 ครั้ง  สำหรับปลาที่มีอาการตัวด่าง  รักษาโดยการแช่ปลาด้วยด่างทับทิม 1-5 พีพีเอ็ม (1-5 กรัม / น้ำ 1,000  ลิตร) หรือเกลือ 0.5% (5 กก. / น้ำ 1,000 ลิตร)  นาน  3  วัน  และควรแช่ซ้ำอีก 2-3 ครั้ง
5.  โรคเชื้อรา    
      


  ลักษณะอาการ  ปลาที่ป่วยจากเชื้อราจะมีอาการอ่อนแอการเคลื่อนไหวลดลง  และบริเวณที่ติดเชื้อจะมีเส้นใยของเชื้อราปกคลุมมองเห็นได้ชัดเจน
     สาเหตุของโรค  เกิดจากเชื้อราหลายสกุลด้วยกัน  เช่น  Aphanomyces  และ  Achlya  เป็นต้น  และมักจะเกิดกับปลาที่บอบช้ำหรือมีแผล
     การรักษา  ให้แช่ปลาป่วยด้วยสารเคมีมาลาไคท์กรีนในอัตรา  0.1  พีพีเอ็ม หรือ 0.1 กรัมต่อน้ำในตู้ 1,000 ลิตร  แช่นาน 3 วัน  ต่อการรักษา 1 ครั้ง  ถ้าปลายังไม่หายป่วยให้รักษาซ้ำอีกครั้ง (มาลาไคท์กรียนเป็นสารอันตรายเวลาใช้ต้องระมัดระวังอย่าให้สัมผัสร่างกายผู้ใช้)

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


เทคนิคการเพาะพันธุ์ปลา        
       
การเพาะพันธุ์ปลาจะได้รับผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด   ขึ้นกับปัจจัยดังนี้
            
             9.1 การคัดพ่อแม่พันธุ์   ปลาที่จะนำมาเพาะจะต้องเป็นปลาที่มีไข่แก่แล้วเท่านั้น   คือมีรังไข่อยู่ในขั้นพักตัว (Resting  Stage)   มิใช่ว่าปลาที่มีการตั้งท้องทุกตัว(คือเห็นส่วนท้องขยายออก)จะนำมาใช้เพาะได้ทั้งหมด   ผู้เพาะจะต้องรู้จักวิธีการคัดปลาที่มีไข่แก่พร้อมที่จะผสมพันธุ์   ซึ่งส่วนใหญ่จะอาศัยดูจากติ่งเพศ   ปลาที่มีไข่แก่จะมีการขยายตัวของติ่งเพศ   และส่วนท้องขยายนิ่ม   ทั้งนี้จะต้องขึ้นกับประสบการณ์   ความชำนาญ   และความช่างสังเกตุของผู้เพาะพอสมควร    
             9.2 การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลา  เนื่องจากปลาสวยงามมักได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างดี   โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีระบบกรองน้ำที่ดี   ทำให้คุณภาพน้ำค่อนข้างดีอยู่ตลอดเวลา   ดังนั้นเมื่อแยกปลาไปลงบ่อเพาะ   น้ำใหม่ในบ่อเพาะจึงไม่สามารถกระตุ้นให้ปลาวางไข่ได้   เพราะสภาพน้ำในบ่อเลี้ยงและบ่อเพาะไม่มีความแตกต่างกัน   ดังนั้นปลาที่จะเตรียมหรือเลี้ยงเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ไว้เพาะพันธุ์   ควรจะเลี้ยงไว้ในลักษณะที่คุณภาพน้ำไม่ดีมากนัก   เช่น   เปลี่ยนเครื่องกรองน้ำเป็นแบบ Box  Filter   ซึ่งพอช่วยกรองน้ำได้บ้างพร้อมเพิ่มออกซิเจนไปในตัว   และงดการถ่ายน้ำก่อนการเพาะประมาณ  1  เดือน   จะทำให้ปลามีความรู้สึกว่าสภาพน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดีนัก   เพราะจะมีสารประกอบไนโตรเจนที่เกิดจากการหมักหมมและสิ่งขับถ่ายมากขึ้น   เมื่อคัดปลาไปลงบ่อเพาะซึ่งเป็นน้ำใหม่มีคุณภาพดีกว่ามาก   จะทำให้ปลามีความรู้สึกเหมือนกับการได้รับน้ำใหม่ในช่วงฤดูฝน   จึงทำให้ปลาเกิดการวางไข่ได้อย่างง่ายดาย   
             9.3 วิธีการคัดพ่อแม่พันธุ์   ต้องทำด้วยความระมัดระวัง   ให้ปลามีความบอบช้ำน้อยที่สุด   และควรงดให้อาหารปลา   ก่อนการคัดประมาณ  4 - 6  ชั่วโมง   เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการขยายตัวของท้องเนื่องจากปริมาณอาหารที่กินเข้าไป    
             9.4 การเตรียมบ่อเพาะ  จะต้องให้มีความพร้อมที่ปลาต้องการในการวางไข่ให้มากที่สุด   เช่น  ปลาทอง   ปลาคาร์พ   ปลาเสือสุมาตรา   ปลาเซเป้   ในธรรมชาติจะวางไข่บริเวณผิวน้ำ   ในบ่อเพาะจึงควรเตรียมรังลอยใกล้ผิวน้ำ ปลาดุก   ปลาแขยง   ปลากด   ในธรรมชาติจะวางไข่ตามบริเวณพื้นก้นบ่อ   ในบ่อเพาะจึงควรเตรียมรังอยู่ก้นบ่อ   นอกจากนั้นระดับน้ำในบ่อเพาะสำหรับการเพาะปลาสวยงาม   ไม่ควรเกินกว่า  30  เซนติเมตร      
                 9.5 การเพิ่มลม  จะให้ลมแรงมากน้อยเพียงใดต้องดูจากพฤติกรรมการวางไข่ในธรรมชาติของปลาแต่ละชนิด   ปลาที่ไข่ทิ้งโดยเฉพาะพวกที่มีไข่ครึ่งลอยครึ่งจมจะต้องการลมแรง   มีการหมุนเวียนของน้ำยิ่งมากยิ่งดี   แต่ปลาที่มีการจับคู่สร้างรังและมีการดูแลรักษาไข่   จะต้องการความสงบไม่ต้องการให้มีการไหลของน้ำ   ควรเปิดลมเบาๆเพื่อเป็นการเพิ่มออกซิเจนเท่านั้น
             9.6 การเพิ่มน้ำ   หากสามารถทำน้ำไหลหรือทำฝนเทียมเลียนแบบธรรมชาติ   ก็จะยิ่งทำให้ปลาวางไข่ได้ดีขึ้น   และจะมีอัตราการผสมค่อนข้างดีด้วย   เพราะการระบายน้ำจะช่วยไล่ความคาวหรือเมือกที่เกิดขึ้นในขณะที่ปลาวางไข่ออกไปด้วย     
             9.7 การเลือกใช้ฮอร์โมน   ถ้าหากเป็นปลาที่จำเป็นต้องฉีดฮอร์โมนกระตุ้น   ก็ควรเลือกชนิดฮอร์โมนให้เหมาะสม   สำหรับปัจจุบันการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์จะสะดวกและให้ผลดี   นอกจากนั้นยังต้องเลือกวิธีการให้เหมาะสมด้วย   ต้องศึกษาว่าปลาชนิดใดใช้วิธีการฉีดฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นการแพร่พันธุ์วางไข่ได้   และปลาชนิดใดจะฉีดฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นการตกไข่   เพื่อจะทำให้สามารถดำเนินการจัดเตรียมบ่อเพาะและอุปกรณ์ต่างๆได้ถูกต้อง       
 
การสืบพันธุ์ของปลา
                ปลาเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีวิวัฒนาการทางด้านการสืบพันธุ์แตกต่างกันมาก   อาจเนื่องจากปลามีจำนวนชนิดมากมาย   และมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านลักษณะ   ขนาด   และถิ่นที่อยู่อาศัย   พบว่าปลามีการสืบพันธุ์ทุกแบบของการสืบพันธุ์แบบมีเพศ (Sexual  Reproduction) ของพวกสัตว์   ซึ่งมีดังนี้
                1.1 การสืบพันธุ์แบบแยกเพศ (Bisexual  Reproduction)  ซึ่งเป็นวิธีการสืบพันธุ์ของปลาส่วนใหญ่   ปลาจะมีการแยกเพศกันเด่นชัด   มีปลาเพศผู้ผลิตเชื้อตัวผู้   และปลาเพศเมียสร้างรังไข่   ได้แก่ปลาทั่วๆไป   เช่น  ปลาทอง   ปลาคาร์พ   ปลาเทวดา   ปลากัด
                1.2 การสืบพันธุ์แบบกระเทย (Hermaphroditism)   เป็นแบบที่มีการสร้างเซลสืบพันธุ์ทั้งเชื้อตัวผู้และไข่ภายในปลาตัวเดียวกัน   ปลาที่มีการสืบพันธุ์แบบนี้มีไม่มากนัก   แบ่งเป็น  2  ลักษณะ  คือ    
                 1.2.1 กระเทยแบบที่สร้างเชื้อสืบพันธุ์ทั้ง  2  ชนิดพร้อมกัน   เช่นปลาในครอบครัวปลากะรัง (ปลาทะเล)    
                 1.2.2 กระเทยแบบที่มีการเปลี่ยนเพศ  ปลาพวกนี้ในช่วงแรกของชีวิตจะเป็นเพศหนึ่ง   เมื่ออายุมากขึ้นหรือมีขนาดโตขึ้นจะกลายไปเป็นอีกเพศหนึ่ง   เช่น  ปลา Sparus   ช่วงแรกจะเป็นเพศผู้  ต่อมาจะกลายเป็นเพศเมีย  ปลาเก๋า  ปลากะรัง  และปลาไหลนาสกุล Monopterus   ช่วงแรกเป็นเพศเมีย   ต่อมาจะกลายเป็นเพศผู้
                1.3 การสืบพันธุ์แบบพาร์ธิโนเจเนซิส (Parthenogenesis) เป็นการสืบพันธุ์ที่ไข่สามารถพัฒนาเป็นตัวอ่อน   โดยไม่ต้องได้รับการผสมจากเชื้อตัวผู้   เกิดได้กับพวกปลาออกลูกเป็นตัว  เช่น  ปลาหางนกยูง   ปลาสอดชนิดต่างๆ   ซึ่งปกติปลาเหล่านี้จะสืบพันธุ์แบบแยกเพศ   แต่ในขณะที่ไม่มีเพศผู้ของปลาเหล่านี้อยู่   ปลาเพศเมียอาจอาศัยน้ำเชื้อเพศผู้จากปลาชนิดอื่น   ช่วยกระตุ้นให้ไข่มีการพัฒนา   โดยที่เชื้อตัวผู้ไม่ได้เข้าไปผสมพันธุ์ด้วย   ไข่จะเกิดการแบ่งเซลพัฒนาไปโดยมีโครโมโซมครบจำนวน (เป็น Diploid)   แต่เนื่องจากเป็นโครโมโซมจากแม่เพียงตัวเดียว   ทำให้ลูกปลาที่เกิดมาจะมีแต่เพศเมียเท่านั้น