(ชื่อวิทยาศาสตร์: Hydrolycus armatus) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาฟันสุนัข (Cynodontidae) ในอันดับปลาคาราซิน
รูปร่างคล้ายกับ ปลาสคอมบิรอยด์ (H. scomberoides) มาก ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกันมาก ต่างกันที่ปลาอามาทัสมีครีบทุกครีบเล็กกว่า และมีสีแดง ครีบไขมันสีส้มเข้ม หัวมีขนาดใหญ่กว่าและหักลง ไม่ชี้ขึ้นเหมือนปลาสคอมบีรอยด์ และลำตัวเป็นสีเหลืองทองในปลาขนาดเล็ก แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเงินวาวเมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น นอกจากนี้แล้ว จุดเด่นที่สำคัญคืออีกประการหนึ่งคือ เมื่อปลาโตเต็มที่ เขี้ยวคู่ล่างที่กรามล่างจะยาวแหลมออกมาจากปากอย่างเห็นได้ชัดนับว่าเป็นปลา ที่มีฟันเขี้ยวใหญ่และแหลมคมที่สุดสำหรับปลาในวงศ์นี้
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 60-70 เซนติเมตร ซึ่งก็นับได้อีกว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้
มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมเป็นฝูงในระดับกลางน้ำในปลาวัยเล็ก หากินโดยล่าปลาและกุ้งต่าง ๆ เป็นอาหาร และถึงแม้ว่าจะเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าก็ตาม ก็สามารถใช้ปากและเขี้ยวที่แหลมคมนี้จับและกลืนกินได้
พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำอเมซอนและสาขา, ลุ่มแม่น้ำโอริโนโค รวมถึงแม่น้ำกายอานา
นิยมตกเป็นเกมกีฬา และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่ต้องนำเข้าจากอเมริกาใต้ จัดเป็นปลาที่มีราคาสูงชนิดหนึ่ง ในประเทศไทยมีชื่อเรียกปลาอามาทัสในแวดวงปลาสวยงามว่า "อามาทัสหางดำ" ทั้งนี้เพื่อมิให้สับสนกับปลาทาทูเอีย (H. tatauaia) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกันอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความใกล้เคียงกันมาก ยิ่งโดยเฉพาะในปลาขนาดเล็ก ซึ่งปลาทาทูเอียจะถูกเรียกว่า "อามาทัสหางแดง" ทั้งนี้ เมื่อปลาทั้ง 2 ชนิดนี้เมื่อโตขึ้นจึงจะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน กล่าวคือ ปลาอามาทัสจะมีครีบหางเป็นสีดำ ขณะที่ปลาทาทูเอียจะเป็นสีแดง อีกทั้ง การนำเข้าปลาในวงศ์นี้ในระยะแรกเริ่มจะสับสนจะปะปนกันมา ปลาอามาทัสจะถูกปะปนเข้ามาพร้อมกับปลาสคอมบิรอยด์และปลาทาทูเอีย แม้แต่ในต่างประเทศก็พบกรณีเช่นนี้[1] แต่เมื่อเลี้ยงในที่เลี้ยงแล้ว พบว่า ปลาอามาทัสมีนิสัยไม่ขี้ตกใจเหมือนปลาในวงศ์เดียวกันนี้ชนิดอื่น ๆ มีนิสัยที่ดุกว่า และเติบโตได้เร็วกว่า และมีราคาที่แพงกว่า
ปลากระแห
รูปร่างคล้ายกับ ปลาสคอมบิรอยด์ (H. scomberoides) มาก ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกันมาก ต่างกันที่ปลาอามาทัสมีครีบทุกครีบเล็กกว่า และมีสีแดง ครีบไขมันสีส้มเข้ม หัวมีขนาดใหญ่กว่าและหักลง ไม่ชี้ขึ้นเหมือนปลาสคอมบีรอยด์ และลำตัวเป็นสีเหลืองทองในปลาขนาดเล็ก แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเงินวาวเมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น นอกจากนี้แล้ว จุดเด่นที่สำคัญคืออีกประการหนึ่งคือ เมื่อปลาโตเต็มที่ เขี้ยวคู่ล่างที่กรามล่างจะยาวแหลมออกมาจากปากอย่างเห็นได้ชัดนับว่าเป็นปลา ที่มีฟันเขี้ยวใหญ่และแหลมคมที่สุดสำหรับปลาในวงศ์นี้
ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 60-70 เซนติเมตร ซึ่งก็นับได้อีกว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้
มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมเป็นฝูงในระดับกลางน้ำในปลาวัยเล็ก หากินโดยล่าปลาและกุ้งต่าง ๆ เป็นอาหาร และถึงแม้ว่าจะเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าก็ตาม ก็สามารถใช้ปากและเขี้ยวที่แหลมคมนี้จับและกลืนกินได้
พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำอเมซอนและสาขา, ลุ่มแม่น้ำโอริโนโค รวมถึงแม่น้ำกายอานา
นิยมตกเป็นเกมกีฬา และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่ต้องนำเข้าจากอเมริกาใต้ จัดเป็นปลาที่มีราคาสูงชนิดหนึ่ง ในประเทศไทยมีชื่อเรียกปลาอามาทัสในแวดวงปลาสวยงามว่า "อามาทัสหางดำ" ทั้งนี้เพื่อมิให้สับสนกับปลาทาทูเอีย (H. tatauaia) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกันอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความใกล้เคียงกันมาก ยิ่งโดยเฉพาะในปลาขนาดเล็ก ซึ่งปลาทาทูเอียจะถูกเรียกว่า "อามาทัสหางแดง" ทั้งนี้ เมื่อปลาทั้ง 2 ชนิดนี้เมื่อโตขึ้นจึงจะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน กล่าวคือ ปลาอามาทัสจะมีครีบหางเป็นสีดำ ขณะที่ปลาทาทูเอียจะเป็นสีแดง อีกทั้ง การนำเข้าปลาในวงศ์นี้ในระยะแรกเริ่มจะสับสนจะปะปนกันมา ปลาอามาทัสจะถูกปะปนเข้ามาพร้อมกับปลาสคอมบิรอยด์และปลาทาทูเอีย แม้แต่ในต่างประเทศก็พบกรณีเช่นนี้[1] แต่เมื่อเลี้ยงในที่เลี้ยงแล้ว พบว่า ปลาอามาทัสมีนิสัยไม่ขี้ตกใจเหมือนปลาในวงศ์เดียวกันนี้ชนิดอื่น ๆ มีนิสัยที่ดุกว่า และเติบโตได้เร็วกว่า และมีราคาที่แพงกว่า
ปลากระแห
ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Poropunti รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทอง (B. altus) แต่รูปร่างป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก ปากเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด ครีบอื่น ๆ มีสีส้มสดยกเว้นขอบบนของครีบอกและขอบล่างของครีบหางที่มีแถบสีดำยาว มีขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร ถึง 25 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำและหนองบึงทุกภาคของประเทศไทย หรือตามหน้าวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำต่าง ๆ โดยมักจะอาศัยอยู่รวมกับปลาตะเพียน (B. gonionotus), ตะเพียนทอง, แก้มช้ำ (Systomus orphoides) หรือปลาในตระกูลปลาตะเพียนชนิดอื่นด้วยกันเสมอ นิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน ตากแห้ง ทำปลาร้า ปลาส้ม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วยกระแห ยังมีชื่ออื่น ๆ อีกว่า "กระแหทอง" หรือ "ตะเพียนหางแดง" ในภาษาอีสานเรียก "ลำปำ" ในภาษาใต้เรียก "เลียนไฟ" ภาษาเหนือเรียก "ปก"
ปลากราย
ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala ornata อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่สีดำขอบขาวที่ฐานครีบก้นตั้งแต่ 3 - 20 ดวง ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัว มีขนาดโดยเฉลี่ย 60 ซ.ม. ใหญ่สุดที่พบคือ 1 เมตร หนัดถึง 15 ก.ก.
มัก อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำทั่วประเทศไทย แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก ปลากรายนับเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตทอดมันหรือลูกชิ้น ราคาขายในตลาดจึงสูง ส่วนบริเวณเชิงครีบก้น เรียกว่าเชิงปลากราย ก็เป็นส่วนที่นิยมรับประทานโดยนำมาทอด แม้ว่าเนื้อจะมีก้างมาก แต่ก็เป็นที่นิยมเพราะมีรสชาติอร่อย นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น เลี้ยงในท้องร่องสวน และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ที่เลี้ยง ง่าย อดทน และจะมีราคาแพงยิ่งขึ้นในตัวที่จุดเยอะ หรือตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก หรือสีทอง ขาว หรือในตัวที่เป็นปลาพิการ ลำตัวสั้นกว่าปกติ มีชื่อเรียกอื่น เช่น "หางแพน" ในภาษากลาง "ตอง" ในภาษาอีสาน "ตองดาว" ในภาษาเหนือปลากัดภาคกลาง หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลากัด เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้โดยใช้ปากฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือน ปลาทั่วไป เกล็ดสากเป็นแบบ Ctenoid ปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด
ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งที่มีขนาดตื้นพื้นที่เล็กทั้งในภาคกลางและภาคเหนือในประเทศไทยเท่านั้น สถานะปัจจุบันในธรรมชาติถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสารเคมีที่ตกค้าง
มี พฤติกรรมชอบอยู่ตัวเดียวในอาณาบริเวณแคบ ๆ เพราะดุร้ายก้าวร้าวมากในปลาชนิดเดียวกัน ตัวผู้เมื่อพบกันจะพองตัว พองเหงือก เบ่งสีเข้ากัดกัน ซึ่งในบางครั้งอาจกัดได้จนถึงตาย เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายก่อหวอดติดกับวัสดุต่าง ๆ เหนือผิวน้ำ ไข่ใช้เวลาฟัก 2 วัน โดยที่ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อนเอง โดยไม่ให้ปลาตัวเมียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ปลาทอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น